วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

การเรียนครั้งที่ 16วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564

       บันทึกการเรียนครั้งที่ 16

 สัมมนาทางการศึกษาปฐมวัย
SEMINAR IN EARLY CHILDHOOD EDUCATION

วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ.2564


จัดงานสัมมนารูปแบบออนไลน์

หัวข้อที่ 1 สนุกกับเทคโนโลยีดีต่อการจัดการเรียนรู้เด็กปฐมวัย

หัวข้อที่ 2 การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้รู้สองภาษาด้วยสื่อสร้างสรรค์

หัวข้อที่3 เกมการศึกษาคิดสนุกปลูกปัญญา

หัวข้อที่4coding for kids








วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

การเรียนครั้งที่ 15 วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2564

 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

 สัมมนาทางการศึกษาปฐมวัย
SEMINAR IN EARLY CHILDHOOD EDUCATION

วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ.2564


สัมมนาออนไลน์

รูปการประชุมกลุ่มย่อย
กำหนดหน้าที่และตารางกิจกรรม

หัวข้อสัมมนา "เล่นล้อมรัก รู้เท่าทันป้องกันตนเองจากภัยล่วงละเมิดทางเพศ"

ประธาน: น้ำเพชร ปิยะคง
พิธีกร: อัญชลี ปัญญา
วิทยากร: สุพัตรา บุญจำเนียร
ทำสไลด์: ทิพรดา ชำราญจิต
ฝ่ายโสต: ชนิกานต์ โสภัณ












การเรียนครั้งที่ 14 วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564

                                บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

 สัมมนาทางการศึกษาปฐมวัย
SEMINAR IN EARLY CHILDHOOD EDUCATION

วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ.2564
อ่านเอกสารและสรุปเป็น แผนที่ความคิด









วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2564

การเรียนครั้งที่ 13 วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2564

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

 สัมมนาทางการศึกษาปฐมวัย
SEMINAR IN EARLY CHILDHOOD EDUCATION

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ.2564
วันนี้อาจารย์นัดมาคุยงานสัมมนาแต่เนื่องด้วยเวลาที่ใกล้จะสัมมนาและเอกสารยังจัดเตรียมไม่พร้อมอาจารย์จึงให้คำปรึกษาและไปจัดการเอกสาร และ งานสัมมนาที่จะจัดขึ้นในวันที่3-6เมษายน พ.ศ.2564 ก็ถูกยกเลิก เนื่องจากทางคณะยังไม่ให้ผ่าน รวมไปถึงวันที่ 9-10 เมษายน พ.ศ. 2564 ถูกเลื่อนไปเป็นหลังจากปิดสงกรานต์

การเรียนครั้งที่12 วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

 สัมมนาทางการศึกษาปฐมวัย
SEMINAR IN EARLY CHILDHOOD EDUCATION

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2564

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเข้ามาคุยหัวข้อสัมมนาเพื่อเตรียมการจัดสัมมนาและโดยอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มมาเขียนโครงการของตนเองและสั่งให้อาจารย์ โดยต้องมีคำกล่าวปิดเปิด ใบประกาศ ข้อสอบ เกียรติบัติ 
หัวข้อที่มีการอบรมดังนี้
1.อบรมเชิงปฏิบัติการการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูล สื่อสร้างสรรค์

2.อบรมเชิงปฏิบัติการการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูล เกมการศึกษา

3.อบรมเชิงปฏิบัติการการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลเทคโนโลยี

4.อบรมเชิงปฏิบัติการการประยุกต์ใช้ฐานข้อมูล บ้านนักวิทย์

5.อบรมเชิงปฏิบัติการคิดและแก้ปัญหาการเรียนรู้ภาษาที่สองสำหรับเด็กปฐมวัย

6.อบรมเชิงปฏิบัติการคิดและแก้ปัญหาการเรียนรู้ด้วยกราฟฟิค

7.อบรมเชิงปฏิบัติการคิดและแก้ปัญหาการเรียนรู้ด้วย CODING

โดยมีกำหนดการณ์ดังนี้






การเรียนครั้งที่ 11 วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

 สัมมนาทางการศึกษาปฐมวัย
SEMINAR IN EARLY CHILDHOOD EDUCATION

วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2564
วันนี้อาจารย์ให้มาปลูกเห็ดฟางทำให้ได้เรียนรู้ตั้งแต่ขั้นตอนแรก การเตรียมอุปกรณ์ การปลูกเห็ด การดูแล
วัสดุและอุปกรณ์
1. ตะกร้าพลาสติก (ขนาดรู 1 นิ้วขึ้นไป)
2. วัสดุในการเพาะเห็ด เช่น ฟางข้าวชานอ้อย เปลือกถั่ว จอกหูหนู ก้อน เชื้อเห็ดเก่า
3. อาหารเสริม เช่น แป้งข้าวเจ้า แป้งสาลี รำละเอียด จอกหูหนู ผักตบชวา
4. เชื้อเห็ดฟาง
5. กระโจมไม้ 
6โครงไม้ไผ่หรือสุ่มไก่พลาสติกคลุม (พลาสติกใสเท่านั้น)
7น้ำสะอาด

เตรียมการก่อนการเพาะ
🍄จัดการกวาดทำความสะอาดพื้นที่ๆต้องการวางตะกร้าเพาะเห็ด
🍄โรยปูนขาว ป้องกันแมลงและเชื้อรา
🍄ตัดปลายฟางในส่วนที่เป็นรวงข้าวออก
🍄นำฟางแช่น้ำไว้ 1 คืน หรือ 8-12 ชม.หากใช้วัสดุเพาะอื่นๆ เช่น หยวกกล้วย ผักตบขวา ต้องนำมาสับและตากแดดให้แห้งก่อนใช้เพาะ

วิธีการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
1. ขยี้เชื้อเห็ดฟางเห็ดให้เป็นชิ้นเล็กๆ
2. นำมาคลุกกับอาหารเสริม
3.ใส่ฟางในตะกร้าให้หนาชั้นละ1ฝ่ามือและโรยเชื้อรอบๆชิดขอบตะกรัาโดยเว้นตรงกลางไว้
4. ทำสลับเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนครบ4-5 ชั้น
5. ชั้นสุดท้ายโรยเชื้อให้ทั่วด้านบนตะกร้า
6. นำตะกร้าเห็ดที่เพาะทั้งหมดมาวางซ้อนกัน
7.รดน้ำให้พอชุ่มโดยจะรดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น
8.ใช้สุ่มไก่หรือกระโจมไม้ ครอบแล้วคลุมด้วยพลาสติก ปิดให้สนิทไม้ให้อากาศเข้าออกได้
9. พรางแสงให้สลัวๆด้วยฟางข้าวหรือตาข่ายสแลน ห้ามใช้ผ้าใบหรือไวนิลจะมืดเกินไป
10. เมื่อครบ 5 วันให้เปิดระบายอากาศ10-20นาที แล้วปิดให้สนิทเช่นเดิม
11.เมื่อครบ 10 วัน ดอกจะเริ่มออกและจะเก็บได้เรื่อยๆอีก 7-10 วัน

ข้อแนะนำ
🍄เห็ดฟางเป็นเห็ดที่ชอบอากาศร้อนขึ้นจึงต้องเพาะไว้กลางแจ้งให้ถูกแสงแดดห้ามเพาะในที่ร่มหรืออับแสงแดด
🍄รดน้ำเพียงครั้งเดียวเท่านั้นหลังจากเพาะเสร็จ
🍄ถ้าฟางข้าวรอบตะกร้าแห้งเกินไป ให้ใช้น้ำรดที่พื้นดินและใช้ฟอกกี้ฉีดฝอยได้ ไม่ควรรดน้ำโดยตรงเส้นใยเห็ดฟางพลาสติกที่ใช้ต้องเป็นพลาสติกใสเท่านั้น ห้ามใช้พลาสติกดำ ถุงขยะดำกระสอบ ไวนิล และผ้าใบบลูชีท

การดูและรักษา
🍄รักษาอุณหภูมิร้อนและความชื้นให้อยู่ระหว่าง 35 - 38 องศาเซลเชียส
🍄ในช่วงประมาณ 1-4 วันแรกไม่ต้องเปิดผ้าพลาสติก
🍄วันที่  5 ให้เปิดผ้าพลาสติกออก เพื่อระบายอากาศ ประมาณ 10-20นาที แล้วคลุมผ้าพลาสติกไว้เช่นเดิม
🍄ตั้งแต่วันที่ 5 จนถึงวันที่ 10อุณหภูมิภายในกองเพาะไม่ควรเกิน 32 องศาเชลเชียส หากเกินมีความเสี่ยงที่เห็ดชนิดอื่นจะขึ้นแทรกในกองเพาะเห็ดการเก็บดอกเห็ด เปิดและเก็บดอกตามต้องการ ไม่ควรเปิดนานเกิน 10 นาที
ภาพระหว่างการทำกิจกรรม










การเรียนครั้งที่ 10 วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564

งดการเรียนการสอนเนื่องในสัปดาห์กิจกรรมพัฒนาภาษาอังกฤษ

 ระหว่างวันที่8ถึง 14 มีนาคม 2564




การเรียนครั้งที่ 9 วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2564

 อาจารย์งดคราสเนื่องจากต้องอาจารย์ต้องไปสอบธรรมมะ

การเรียนครั้งที่ 8 วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

 เป็นวันหยุดเนื่องในวันมาฆบูชา




การเรียนครั้งที่ 7 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

 สัมมนาทางการศึกษาปฐมวัย
SEMINAR IN EARLY CHILDHOOD EDUCATION

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564

อาจารย์มอบหมายงานให้แบ่งกลุ่มและนำเสนอหัวข้อสัมมนาโดยกลุ่ม โดยกลุ่มดิฉันได้
🧸หัวข้อสัมนา🧸
1.อบรมสัมมนาเชิงปฎิบัติการ การพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมและสื่อ
2.การอบรมขยายผลครูผู้สอนระดับปฐมวัย ตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope)
3.เล่นล้อมรัก รู้เท่าทันป้องกันตนเอง

🤎สมาชิก🤎
นางสาวทิพรดา ชำนาญจิต
นางสาวชนิกานต์ โสภัณ
นางสาวสุพัตรา บุญจำเนียร
นางสาวอัญชลี ปัญญา
นางสาวน้ำเพชร ปิยะคง



รูปภาพการเรียนออนไลน์






การเรียนครั้งที่ 6 วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

 เป็นวันหยุดเนื่องในวันตรุษจีน




การเรียนครั้งที่ 5 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

                                                   บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

 สัมมนาทางการศึกษาปฐมวัย
SEMINAR IN EARLY CHILDHOOD EDUCATION

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564
งานชิ้นที่ 1 เขียนกระบวนการในการเลือกหัวข้อสัมมนาและมีปัจจัยเรื่องอะไรบ้าง

🦄กระบวนการในการเลือกหัวข้อสัมมนา🦄
•หาประเด็นที่ทันเหตุการณ์
•เรื่องที่แปลกใหม่
•ชื่อสัมนาต้องมีความเข้าใจง่าย
•เป็นปัญหาที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีวิธีแก้ไข
•มีความเหมาะสม

🦄ปัจจัยในการสัมมนา🦄
•ด้านบุคลากร
•ด้านสถานที่
•ด้านเนื้อหา 
•ด้านประชาสัมพันธ์
งานชิ้นที่2ให้นักศึกษาเลือกโครงการที่สนใจและศึกษาพร้อมเขียนหัวข้อที่เป็นองค์ประกอบของโครงการ

โครงการส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัย
กิตติกรรมประกาศ »
บทคัดย่อ »
1.ชื่อโครงการ
2.ความเป็นมา/หลักการเหตุผล 
3.วัตถุประสงค์โครงการ 
4.กิจกรรม/การดำเนินงาน 
5.กลุ่มเป้าหมาย 
6.ผลลัพธ์ที่ได้ 
 7.การประเมินผล 
 8.ปัญหาและอุปสรรค 
 9. ข้อเสนอแนะ 
 10.เอกสารประกอบอื่นๆ


🎀สรุปการเรียนรู้🎀
การเลือกหัวข้อสัมมนา ต้องเลือกยังไง แบบไหน ปัจจัยในการเลือก เนื้อเรื่อง กลุ่มบุคคลสัมมนา การเลือกเรื่องให้เข้ากัยุคสมัย และวิธีในการจัดสัมมนา 
🐺ทักษะที่ได้รับ🐺
การหาประเด็นที่ทันเหตุการณ์ในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่แปลกใหม่ต้องเป็นปัญหาที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีวิธีแก้ไข
🦄การนำไปใช้🦄
นำความรู้ไปใช้ในการจัดสัมมนาโดยจัดเป็นขั้นตอนลำดับต่างๆเพื่อที่จะมีประโยชน์ต่อผู้ฟัง
คำศัพท์
🍉standard. มาตรฐาน
🍉Topic    หัวข้อ
🍉Structure โครงสร้าง
🍉Diploma.   วุฒิบัตร
🍉Interested สนใจ




การเรียนครั้งที่ 4 วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564



 บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

 สัมมนาทางการศึกษาปฐมวัย
SEMINAR IN EARLY CHILDHOOD EDUCATION

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ.2564

🍉ความรู้ที่ได้รับ🍉

วันนี้นำเสนอสัมมนาจากอาทิตย์ที่แล้วตั้งแต่กลุ่ม4ถึงกลุ่ม8ในหัวข้อ

🌸สื่อดิจิตอลที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

🌸การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในยุค โควิด-19

🌸การปรับตัวลูกน้อยเข้าสู่ยุคNew normal

 🌸บทบาทของครูในยุค โควิด-19

🌸เทคนิคการเลี้ยงลูกเชิงบวกเพื่อพัฒนา EF


🥝ทักษะที่ได้รับ🥝

ได้รับทักษะการคิดวิเคราะห์การฟังเพื่อนนำเสนอและการตอบคำถามจับใจความสำคัญฝึกการพูดและการกล้าแสดงออกและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเทคนิคการพูดต่างๆการบรรยายหรือการนำเสนองาน

🌽การประยุกต์ใช้🌽

สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการสัมมนาการจัดกิจกรรมต่างๆของเด็กประถมวัยในอนาคตการใช้คำพูดให้ผู้ฟังเข้าใจการใช้คำควบกล้ำและการสืบค้นข้อมูลที่จะถ่ายทอดอย่างชัดเจนการเตรียมความพร้อมในการสัมมนา


💕คำศัพท์💕

1. New normal =ปกติใหม่

2.Developments =พัฒนาการ

3.Positive=เชิงบวก

4.Application=แอพพลิเคชั่นมา

5.Innovation=นวัตกรรม


รูปภาพในการเรียนออนไลน์